วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมโครงการฟื้นฟูศีลธรรม


นายสัญญา  แอ่งสุข  นำนักเรียนโรงเรียนบ้านนาดี  ตำบลนาดี  อำเภอสนม  จังหวัดสุรินทร์  เข้าร่วมรวมพลังเด็กดีวีสตาร์  ณ  วัดพระธรรมกายจังหวัดปทุมธานี  ซึ่งโรงเรียนบ้านนาดี  เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่ร่วมกิจกรรมโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก

สัมมนา

นายสัญญา  แอ่งสุข  ครูโรงเรียนบ้านนาดี  ตำบลนาดี  อำเภอสนม  จังหวัดสุรินทร์  เข้ารับการอบรมสัมมนาเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์การทำงานประจำปีการศึกษา  2553

ทัศนศึกษา

ครูสัญญา  แอ่งสุข  คณะครูโรงเรียนบ้านนาดี  ตำบลนาดี  อำเภอสนม  จังหวัดสุรินทร์  นำคณะนักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานที่  ประจำปีการศึกษา  2553  ณ  เขื่อนป่าศักดิ์ชลสิทธิ์  จังหวัดลพบุรี  บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานนักเรียนได้รับความรู้จากการทัศนศึกษาครั้งนี้มาก

การพัฒนากระบวนการคิดให้กับผู้เรียน

 การพัฒนากระบวนการคิดให้กับผู้เรียน



สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความซับซ้อนมาก  และมีการพัฒนาการมาตั้งแต่ประมาณ 5   สัปดาห์แรก  โดยแบ่งเป็นสองซีก คือซ้ายขวาควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อซีกตรงข้ามของร่างกาย   นอกจากนั้นสมองทั้งสองซีกยังบรรจุข้อมูลที่แตกต่างกัน คือ           ซีกซ้าย  ควบคุมการพูด การใช้ภาษา การเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์การรู้คิดการใช้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ควบคุมการทำงานซีกขวาของร่างกาย           ซีกขวา  เป็นแหล่งควบคุมมิติสัมพันธ์ต่างๆ ความสุนทรีทางอารมณ์ เช่น ดนตรี เพลง งานศิลปะต่างๆ เป็นแหล่งส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่มนุษย์สร้างขึ้น  ควบคุมการทำงานของร่างกายด้านซ้าย           ทั้งที่บรรจุการควบคุมการทำงานรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกัน  แต่จะไม่แยกการทำงานจากกันเด็ดขาด ต้องทำงานไปพร้อมๆ กัน ภายใต้การบริหารงานและเซลล์ประสาทจะเป็นตัวนำเข้า-ออกระหว่างสมองทั้งสองซีกนั้น   ซึ่งสมองของมนุษย์มีลักษณะเด่น คือ                    -  มีน้ำหนัก 2% ของน้ำหนักของร่างกาย ซึ่งโดยปกติจะประมาณ 3  ปอนด์ หรือ 1.36    กิโลกรัม                   -  ขนาดของสมองจะโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 18 ปี                   -  สมองมีส่วนประกอบของน้ำ 75%                   -  มีเซลล์ประสาทประมาณ 20% ของออกซิเจนที่ไหลเวียนในร่างกาย                   -  มีเซลล์ประสาทประมาณ 100ล้านเซลล์และแต่ละเซลล์จะเชื่อมต่อกันโดยรวม                      ทั้งสมองจะมีเส้นประสาทประมาณสิบร้อยล้านๆ เส้น                   -  สมองมีลักษณะนุ่มและต้องครอบด้วยกะโหลกแข็งแรงแต่โอกาสการได้รับอันตรายมีง่ายมาก

กระบวนการคิดแบบต่าง ๆ
กระบวนการคิด  หมายถึง  รูปแบบการคิดที่มีลำดับขั้นตอนของการคิด  แต่ละขั้นตอนของการคิดต้องใช้ทักษะการคิดหรือลักษณะการคิดหลาย ๆ แบบมาประกอบกัน  การคิดที่เป็นกระบวนการคิดมีอยู่หลายรูปแบบ  รูปแบบการคิดที่ช่วยในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ  ก่อให้เกิดผลของการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ  ได้แก่
1. กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์
2. กระบวนการคิดแบบมีวิจารณญาณ  (Critical  Thinking)
3. กระบวนการคิดสร้างสรรค์  (Creative  Thinking)
4. กระบวนการคิดเลียนแบบอริยสัจ  4

การสอนเพื่อพัฒนาการคิด
เนื่องจากการพัฒนาการคิดเป็นสิ่ง สำคัญ จึงได้มีการค้นหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อ นำมาใช้ในการพัฒนาความสามารถ ดังกล่าว ในปี ค.ศ.1984 ได้มีการประชุมของนัก การศึกษาจากประเทศต่าง ๆ ที่ The Wingspread Conference Center in Racing, Wisconsin State. เพื่อหาแนวทางในการ พัฒนาทักษะการคิดของเด็ก พบว่า แนว ทางที่นักการศึกษาใช้ในการดำเนิน การวิจัยและทดลองเพื่อพัฒนาการ คิดนั้น สามารถสรุปได้ 3 แนว คือ (เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์,2530)
1. การสอนเพื่อให้คิด (teaching for thinking) เป็นการ สอนที่เน้นในด้านเนื้อหาวิชาการ โดย มีการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการคิดของเด็ก
2. การสอนการคิด (teaching of thinking) เป็นการสอน ที่เน้นเกี่ยวกับกระบวนการทางสมอง ที่นำมาใช้ในการคิด โดยเฉพาะเป็นการ ปลูกฝังทักษะการคิดโดยตรง ลักษณะของ งานที่นำมาใช้สอนจะไม่เกี่ยว ข้องกับเนื้อหาวิชาการที่เรียนในโรง เรียน แนวทางการสอนจะแตกต่างกัน ออกไปตามทฤษฎี และความเชื่อพื้นฐานของ แต่ละคนที่นำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมการสอน
3. การสอนเกี่ยวกับการคิด (teaching about thinking) เป็นการสอนที่เน้นการใช้ทักษะการ คิดเป็นเนื้อหาสาระของการสอน โดยการ ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้รู้และเข้า ใจกระบวนการคิดของตนเองเพื่อ ให้เกิดทักษะการคิดที่เรียกว่า metacognition คือ รู้ ว่าตนเองรู้อะไร ต้องการรู้อะไร และ ยังไม่รู้อะไร ตลอดจนสามารถควบคุมและ ตรวจสอบการคิดของตนเองได้สำหรับโปรแกรมการสอนเพื่อพัฒนาความ สามารถในการคิดที่จัดสอนในโรง เรียน เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันสามารถจำแนก ออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ โปรแกรมที่มีลักษณะเฉพาะ (specific program) ซึ่งเป็นโปรแกรมพิเศษนอกเหนือจาก การเรียนปกติเป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้น เพื่อเสริมสร้างการคิดวิจารณญาณโดยเฉพาะ (institutional programs to foster critical thinkgin) กับโปรแกรมที่มีลักษณะ ทั่วไป (general program) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้เนื้อ หาวิชาในหลักสูตรปกติเป็นสื่อใน การพัฒนาทักษะการคิด เป็นการสอนทักษะ การคิดในฐานะที่เป็นตัวเสริมวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่มีอยู่โดยเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาวิชา เนื่องจากความพร้อมและสถานการณ์ใน การจัดการเรียนการสอนในประเทศ ไทยมีลักษณะที่หลากหลาย ในที่นี้จึง จะขอนำเสนอแนวทางในการสอน เพื่อพัฒนากระบวนการคิดหลาย ๆ แนว เพื่อเป็นตัว เลือกให้แก่ครูและโรงเรียนในการ นำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมกับ สถานการณ์

แนวการสอนเพื่อพัฒนาการคิด
 · แนวที่ 1 การสอนเพื่อพัฒนาการ คิดโดยตรงโดยใช้โปรแกรมสื่อสำเร็จรูป หรือ บทเรียน/กิจกรรมสำเร็จรูป
สำหรับครูและโรงเรียนที่สนใจจะ พัฒนาความสามารถทางการคิดของนัก เรียนและสามารถที่จะจัดหาเวลาและ บุคคล รวมทั้งมีงบประมาณที่จะดำ เนินการได้ ได้มีผู้จัดทำโปรแกรมและ สื่อสำเร็จรูป รวมทั้งบทเรียน/กิจกรรมสำเร็จ รูปไว้บ้างแล้ว
 · แนวที่ 2 การสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบหรือกระบวนการสอนที่ เน้น การพัฒนาการคิดที่ได้มีผู้ พัฒนาขึ้นการสอนเพื่อพัฒนาการคิดในลักษณะ นี้เป็นการสอนที่มุ่งสอนเนื้อหา สาระต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร แต่ เพื่อให้การสอนนั้นเป็นการช่วย พัฒนาความสามารถทางการคิดของผู้ เรียนไปในตัว ครูสามารถนำรูปแบบการ สอนต่าง ๆ ที่เน้นกระบวนการคิดมาใช้ เป็นกระบวนการสอน ซึ่งจะช่วยให้ครู สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ทั้งทางด้านเนื้อ หาสาระและการคิดไปพร้อม ๆ กัน
 · แนวที่ 3 การสอนเนื้อหาสาระ ต่าง ๆ โดยพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนา ลักษณะการคิดแบบต่าง ๆ รวมทั้งทักษะ การคิดทั้งทักษะย่อยและทักษะผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอน  แนวทางทั้ง 3 นี้น่าจะเป็นแนวทาง ที่ครูสามารถทำได้มากที่สุด และสะดวก ที่สุด เนื่องจากครูสอนเนื้อหาสาระอยู่ แล้ว และมีกิจกรรมการสอนอยู่แล้ว เมื่อ ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการคิด ตามกรอบความคิดที่ได้เสนอมาข้าง ต้น ครูจะสามารถนำความเข้าใจนั้นมา ใช้ในการปรับกิจกรรมการสอนที่มี อยู่แล้วให้มีลักษณะที่ให้โอกาสผู้ เรียนได้พัฒนา ทักษะการคิด ลักษณะการคิด และ กระบวนการคิดที่หลากหลาย

กระบวนการ ต่าง ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมและเผย แพร่ให้ครูใช้ในการสอน ซึ่งได้แก่
  ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
  กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
  กระบวนกาคิดวิจารณญาณ
  กระบวนการแก้ปัญหา
  กระบวนการสร้างความตระหนัก
  กระบวนการปฏิบัติ
  กระบวนการคณิตศาสตร์
  กระบวนการปฏิบัติ
  กระบวนการเรียนภาษา
  กระบวนการกลุ่ม
  กระบวนการสร้างเจตคติ
  กระบวนการสร้างค่านิยม
  กระบวนการการเรียนความรู้ ความ เข้าใจ
 โยนิโสมนสิการ (อ่านว่า โยนิโส-มะนะสิกาน) แปลว่า "การทำไว้ในใจโดยแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย" หมายถึง ความเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธีถูกระบบ พิจารณา ไตร่ตรองสาวไปจนถึงสาเหตุหรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด คือคิดถึงรากถึงโคนนั่นเอง แล้วประมวลความคิดรอบด้านจนกระทั่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร ดีหรือไม่ดี
การพัฒนาการคิดในกระบวนการคิดแบบมีวิจารณญาณ
การพัฒนาการคิดแบบมีวิจารณญาณ สามารถทำได้โดยการสร้างสถานการณ์หรือ เหตุการณ์ที่เป็นปัญหาในระดับที่ไม่สามารถใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งแก้ได้ทันที ต้องมีการประมวลผลข้อมูล ความรู้ หรือข้อคิดเห็นต่าง ๆ  อย่างกว้างขวาง มาประกอบการพิจารณากลั่นกรอง ไตร่ตรอง และประเมินอย่างรอบด้าน เพื่อให้เกิดผลการคิดที่รอบคอบและสมเหตุสมผล ลักษณะเด่นของสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เหมาะสมกับการฝึกคิดตามกระบวนการคิดแบบมีวิจารณญาณ ได้แก่
1. สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่สามารถระบุปัญหา และเป้าหมายที่ชัดเจน
2. มีการประมวลข้อมูล ความรู้ ข้อคิดเห็น หรือประสบการณ์มาร่วมในการพิจารณากลั่นกรอง ไตร่ตรอง และประเมินอย่างรอบด้าน
3. ก่อนได้คำตอบ ต้องมีการคิดแบบการกลั่นกรอง การพิจารณา การไตร่ตรอง และการประเมิน เพื่อให้ได้ผลการคิดที่รอบคอบและสมเหตุสมผล
ประโยชน์ของการคิดแบบมีวิจารณญาณ
การคิดแบบมีวิจารณญาณ จะให้ผลของการคิด เช่น การตัดสินใจวิธีการในการแก้ปัญหาแนวทางในการปฏิบัติ ข้อเสนอแนะ ฯลฯ ที่มีความรอบคอบ สมเหตุสมผล และมีคุณค่า
กระบวนการคิดสร้างสรรค์
ความหมาย
กระบวนการคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการคิดที่ให้ผลการคิดที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ มีคุณค่า มีประโยชน์ ผลการคิดอาจออกมาในรูปของประดิษฐ์กรรมใหม่ แนวทางในการแก้ปัญหาแบบใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ ทางเลือกใหม่ เป็นต้น
กระบวนการการคิดสร้างสรรค์ของโรเจอร์ วอน โอช
กระบวนการคิดสร้างสรรค์ ตามแนวความคิดของโรเจอร์ วอน โอช(Roger von Oech) จากหนังสือ ซัดสักป๊าบ เพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ (A Kick In The Seat of The Pants)  แปลโดย พิทยา สิทธิอำนวย ได้อุปมาอุปไมยขั้นตอนที่ควรกระทำในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยเทียบเคียงกับบทบาทของบุคคลต่าง ๆ ดังนี้

นักสำรวจ ศิลปินผู้พิพากษา นักรบ
แต่ละบทบาทประกอบด้วยรูปแบบของการคิดที่แตกต่างกันออกไป

นักสำรวจ มีบทบาทในการแสวงหาวัตถุดิบซึ่งจะนำมาสร้างความคิดใหม่ ซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริง มโนทัศน์ ประสบการณ์ ความรู้ ความรู้สึกที่สามารถหามาได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นนักสำรวจที่มองหาวัตถุดิบต่าง ๆ มาใช้สร้างความคิดใหม่ ๆ
ศิลปิน มีบทบาทในการสร้างความคิดใหม่หรือจินตนาการเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่นักสำรวจเก็บมาแล้วแปลงไปเป็นความคิดใหม่ ๆ   ซึ่งใช้ความคิดหลากหลายแบบ เช่น นำมาจัดใหม่ สร้างกฎเกณฑ์ใหม่ มองกลับด้าน ใช้ลางสังหรณ์ ใช้จินตนาการ เป็นต้น
ผู้พิพากษา มีบทบาทของผู้ประเมิน สิ่งที่ศิลปินสร้างขึ้น แล้วตัดสินใจว่ามีคุณค่ามีประโยชน์หรือไม่ จะนำไปปฏิบัติ นำไปปรับปรุง หรือทิ้งไป
นักรบ มีบทบาทนำเอาความคิดที่ผู้พิพากษาได้ประเมินว่าควรค่าหรือเหมาะสมไปสู่การ
ปฏิบัติ

แต่ละขั้นตอนสามารถย้อนกลับได้ เช่น ขั้นตอนสร้างความคิดใหม่ (ศิลปิน) ถ้าข้อมูลไม่พอก็สามารถกลับไปสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมได้

ทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่เกี่ยวข้องในกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ของโรเจอร์ วอน โอช
ขั้นตอนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดของโรเจอร์ วอน โอช  มีลำดับขั้นตอนกับทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่สนับสนุนให้คิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรุปได้ดังนี้
นักสำรวจ(หาข้อมูล)
-รู้จุดมุ่งหมายของตนเอง
-หาข้อมูลจากหลายแหล่ง
-จดบันทึกความคิดใหม่ๆ      
ศิลปิน(สร้างความคิดใหม่)
-คิดดัดแปลงต่อเติม
-คิดใหม่
-มองต่างมุมหรือ
กลับมุม
-ปล่อยเวลาเพื่อบ่มความคิด
ผู้พิพากษา  (ประเมินความคิด)
-ประเมินด้านบวก
ด้านลบ
-ประเมินความเป็น
ไปได้
นักรบ  (ปฏิบัติ)
-วางแผน
ปฏิบัติ
 
แนวทางการพัฒนาการคิดจากต่างประเทศ
ได้มีผู้นำเสนอแนวคิด และแนวทางในการพัฒนาการคิดไว้จำนวนไม่น้อย อาทิเช่น
  เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward De Bono, 1973)· ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาการคิดไว้จำนวนมาก เช่น การพัฒนาการคิดโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ เป็นต้น
  ศูนย์พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Center for Critical Thinking, Sonoma· State University, 1996) ได้พัฒนาคู่มือการสอนเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับการสอนในโรงเรียนทุกระดับ และยังได้ผลิตสื่อประเภทเทปเสียงบรรยาย และวีดิทัศน์ขึ้นเป็นจำนวนมาก มีนักการศึกษาจำนวนหลายท่านได้พัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนากระบวนการคิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น จอยส์ และเวลส์ เอนนิส และวิเลียมส์ เป็นต้น 
ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดของไทย
  พระธรรมปิฎก (2535) ได้นำเสนอแนวคิดในการจัดการศึกษาและการสอนตามหลักพุทธธรรม· ซึ่งครอบคลุมในเรื่องการพัฒนาปัญญา และการคิดไว้จำนวนมาก และได้มีนักการศึกษาไทยนำแนวคิดเหล่านี้มาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกระบวนการ และเทคนิคในการสอน ทำให้ประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้มากขึ้น
ทฤษฎี หลักการ และแนวคิด ตามหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษาและการสอนที่พระธรรมปิฎกได้เผยแพร่ที่สำคัญ ๆ
การจัดการเรียนการสอนเพื่อนพัฒนากระบวนการคิด
เป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นกระบวนการมากกว่าเนื้อหาสาระวิชา ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดประกอบด้วยองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก่ผู้เรียน ๓ ด้านคือ
๑.
 ด้านความรู้ (Knowledge : K) แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ       (๑.๑) เนื้อหาสาระของวิชานักคิด คือ สาระวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ ประกอบด้วยเครื่องมือช่วยคิด กระบวนการคิด ทักษะการคิด       (๑.๒) ความรู้บูรณาการ คือ สาระเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นสภาพการณ์ที่กำหนดสภาพแวดล้อมรอบตัว ปัญหาในชีวิตประจำวัน ที่ถูกนำมาคิด ซึ่งเนื้อหาจะเป็นสาระของวิชาใดก็ได้ จึงเป็นความรู้เชิง    บูรณาการ
๒.
 ด้านกระบวนการ(Process : P)
คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริง ได้สร้างผู้เรียนให้เกิดทักษะชีวิตพื้นฐาน ๗ ประการ ได้แก่       (๑) ทักษะการรู้จักตนเอง       (๒) ทักษะการคิด การตัดสินใจและการแก้ปัญหา       (๓) ทักษะการแสวงหาข้อมูล ข่าวสาร ความรู้       (๔) ทักษะการปรับตัว       (๕) ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ       (๖) ทักษะการวางแผน และการจัดการ       (๗) ทักษะการทำงานเป็นทีม
๓.
 เจตคติ(Attitude : A) คือ คุณลักษณะที่ปลูกฝังของรายวิชา ได้แก่ ใจกว้าง ขยัน ใฝ่เรียนใฝ่รู้ กระตือรือร้นช่างคิดผสมผสาน ขยัน ต่อสู้ อดทน เป็นธรรม มั่นใจในตนเอง ช่างวิเคราะห์ กล้าคิดกล้าเสี่ยง    
มีน้ำใจ น่ารักน่าคบ เป็นต้น
จากองค์ความรู้ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดดังกล่าว ได้เป็นแนวทางให้ ครูผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยการจัดประสบการณ์ สภาพการณ์หรือสิ่งเร้ามากระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดตามองค์ประกอบของความคิดอันประกอบด้วย เครื่องมือช่วยคิด ทักษะการคิด คุณสมบัติที่เอื้อต่อการคิดเพื่อให้ผู้เรียนมีด้านความรู้ (
Knowledge : K)กระบวนการ (Process : P) และเจตคติ (Attitude : A)    มีการแก้ปัญหาอย่างมีระบบมีประสิทธิภาพ มีการตัดสินใจอย่างไตร่ตรอง รอบคอบ และพร้อมในการปรับตัวเพื่อเข้าสู่โลกอนาคตซึ่งเป็นเป้าหมายของหลักสูตร    
บทบาทสำคัญในการส่งเสริมความคิดของผู้เรียน องค์ประกอบที่จะพัฒนาความคิดในตัวผู้เรียนอยู่ที่เทคนิคและวิธีการสอนของครูผู้สอน ที่จะช่วยกระตุ้น ส่งเสริม และพัฒนาความคิดของผู้เรียนให้งอกงามขึ้น ครูก็ควรจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความเหมาะสม ความต้องการของผู้เรียน โดยหาเทคนิควิธีการสอนใหม่ ๆ แปลก ๆ มุ่งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง คอยติดตามให้กำลังใจพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการแสดงออกด้วยการพูด หรือการกระทำตามจินตนาการและความพึงพอใจของผู้เรียน ก็จะช่วยพัฒนาความคิดของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
ลักษณะการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
         ๑.การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง(Brain - Based Learning : BBL) คือ การนำองค์ความรู้เรื่องสมองและธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง มาใช้ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การเสริมสร้างประสบการณ์ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมและกระบวนการอื่น ๆ ร่วมกับสื่อเพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ทำให้เด็กสนใจ เข้าใจ เรียนรู้และรับรู้ไว้ในความทรงจำระยะยาว ทั้งยังสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้มาใช้ประโยชน์ได้อย่า
เหมาะสม เป็นการสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของนักเรียนตามหลักการ ๑๒ ประการ  ๑.๑ สมอง ร่างกาย และจิตใจทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (One dynamic system)
  ๑.๒ สมองและจิตใจมีสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Social)
  ๑.๓ สมองเลือกรับรู้และเรียนรู้ในสิ่งที่มีความหมายต่อตน (Search for meaning)
  ๑.๔ สมองค้นหาความหมายอย่างมีรูปแบบเฉพาะแต่ละบุคคล (Patterning)
  ๑.๕ อารมณ์และความรู้สึก ส่งผลต่อการเรียนรู้ (Emotional)
  ๑.๖ สมองสามารถเกิดการเรียนรู้ในทุกส่วนและบางส่วนของสมอง (Part  & Wholes)
  ๑.๗ สมองเรียนรู้จากกระบวนการร่วมกันระหว่างความสนใจ การจดจ่อและการสัมผัส (Peripheral perception)
  ๑.๘ สมองเรียนรู้ทั้งภาวะรู้ตัวและไม่รู้ตัว (Conscious & Unconscious)
  ๑.๙ สมองจัดเก็บข้อมูลไว้หลายระบบ (Memory)
  ๑.๑๐ สมองพัฒนาอย่างมีลำดับชั้น เพื่อการเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัด (Developmental)
  ๑.๑๑ สมองเรียนรู้จากการท้าทาย ไม่ใช่ถูกคุกคาม (Challenge & Threat)
  ๑.๑๒ สมองแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ (Each brain is uniquely arganized)

สรุปโดย  :  นายสัญญา  แอ่งสุข  นักศึกษาปริญญาโท  สาขาการบริหารการศึกษา  ศูนย์ท่าตูมฯ  รุ่น 3  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี